Skip to main content

เงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน

เงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน

เกณฑ์อายุที่สามารถขอรับเงินบำเหน็จชราภาพได้

 

รายการเอกสารประกอบ : เงินบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน

จำนวน 9 รายการ ดังนี้

   เอกสารประกอบ ภาษาอังกฤษ

รับรอง 2 แห่ง

  1. กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
  2. สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป
รายละเอียด หมายเหตุ
1

 แบบฟอร์มไทเป (10658) พร้อมลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง

  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง
  • 2 ฉบับต่อการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 1 ครั้ง เฉพาะที่ใช้เดินทางไปไต้หวัน
  • ขอได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด/สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

ตัวอย่างการกรอก

2

 แบบฟอร์มเกาสง (806) พร้อม

  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง
  • 2 ฉบับต่อการเปลี่ยนชื่อ-สกุล 1 ครั้ง เฉพาะที่ใช้เดินทางไปไต้หวัน
  • ขอได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด/สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

ตัวอย่างการกรอก

3

สำเนาบัตรกาม่า (Alien Resident Certificate : ARC) ชัดเจนและสมบูรณ์  (ควรมี)  

 กรณีไม่มีสำเนาบัตรกาม่า ให้ใช้เรื่องบันทึกปากคำ เฉพาะกรณีการยื่นขอรับบำเหน็จชราภาพจากกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน โดยไม่มีบัตรกาม่า

  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง

ตัวอย่างกาม่า
 

 

บันทึกปากคำกรณีไม่มีกาม่า

4  สำเนาบัตรประชาชนปัจจุบัน
  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง
 
5

 สำเนาหนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน 

 

** กรณีไม่มีหนังสือเดินทาง และ/หรือ มีการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ให้ใช้ประวัติการทำหนังสือเดินทาง 

จากกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ค่าธรรมเนียม 100 บาท) **

  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง

 

 

ตัวอย่างประวัติการทำหนังสือเดินทาง

6

 สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีประทับตราออกนอกไต้หวัน หรือ ประทับตราเข้าออกประเทศไทย

  • ลงลายมือชื่อเหมือนหนังสือเดินทาง
ตัวอย่าง
7

 เอกสารทะเบียนบ้านที่ผ่านการแปลและรับรอง [2] 

ขอคัดเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต

 

  • ขอคัดได้ ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขตทุกแห่ง
  •  
 
8

สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ที่ผ่านการแปลและรับรอง  [2] 
** กรณีที่ชื่อปัจจุบันไม่ตรงกับหนังสือเดินทางเล่ม1สุดท้ายที่ใช้เดินทางไปทำงานที่ไต้หวัน ** 

ขอคัดเป็นภาษาอังกฤษได้ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต

  • ขอคัดได้ ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขตทุกแห่ง
 
9

 ใบรับรองการเปิดบัญชีธนาคารฉบับภาษาอังกฤษ ที่ผ่านการรับรอง  [1]

ขอได้ที่ธนาคาร

(ค่าธรรมเนียม 100 บาท)

  • ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ธนาคารต้องเหมือนกับที่ส่งให้กับกระทรวงการต่างประเทศ

ตัวอย่าง

หมายเหตุ

      [1]  รับรอง 2 แห่ง (ตามลำดับ) คือ  1. กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และ 2. สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

 

  การรับรอง ณ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

   แรงงานจะต้องยืนยันตัวตนเพื่อรับรองเอกสาร ณ สำนักงานเศรษฐกิจฯ หากไม่สามารถดำเนินงานด้วยตนเองได้ ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน จากที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขตทุกแห่ง (ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ) พร้อมเอกสารประกอบการยืนยันตัวตน ดังนี้

  • หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจากที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต (กรณีไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)
  • เอกสารการเดินทางไปทำงานในไต้หวัน อาทิ สำเนาบัตรกาม่า (Alien Resident Certificate : ARC) สำเนาหนังสือเดินทาง หน้าที่มีวีซ่าที่ไปทำงานไต้หวัน หรือ ใบคัดข้อมูลการเดินทางไปทำงานในไต้หวันจากสำนักงานจัดหางานจังหวัด

 

      [2]  สำนักงานแรงงานในต่างประเทศ (ไทเป/เกาสง) จะเป็นผู้แปลและรับรองสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลฉบับภาษาจีนเพื่อยื่นต่อกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวันต่อไป

      [3]  กองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน จะรับพิจารณาเอกสารการขอรับเงินบำเหน็จชราภาพที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่เอกสารผ่านการประทับรับรองจาก กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

      [4] เพื่อให้ทันยื่นเรื่องต่อกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวันภายในเวลาที่กำหนด และรักษาสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยขอให้จัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง แล้วนำส่งถึงสำนักงานแรงงานไทยในไต้หวัน โดยเอกสารการรับรอง ควรมีอายุคงเหลือไม่น้อยกว่า 4 เดือน

 

ดาวน์โหลด

 

 

อัพเดท : 22 กุมภาพันธ์ 2565

 

58829
TOP